-:- V][ie][W -:-

วันจันทร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2550

*-*สื่อการเรียนการสอน*-*


หน่วยที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสื่อการเรียนการสอน
ในการเรียนการสอนเป็นกระบวนการสื่อความหมายระหว่างผู้สอนและผู้เรียน โดยมีเจตนาที่จะถ่ายทอดเรื่องราวต่าง ๆ จึงจำเป็นต้องอาศัยตัวกลางหรือพาหะ ซึ่งเปรียบเสมือนสะพานเชื่อมโยงที่สำคัญ อาจเรียกชื่อแตกต่างกัน เช่น อุปกรณ์การสอน โสตทัศนอุปกรณ์ โสตทัศนูปกรณ์ สื่อการสอน สื่อการเรียน ซึ่งแต่ละคำหมายถึงตัวกลางทั้งสิ้น
เดิมใช้คำว่า “อุปกรณ์การสอน” (Teaching Aids) ซึ่งเน้นถึงสิ่งที่นำมาใช้ช่วย ในการสอน แต่เนื่องจากสิ่งที่นำมาใช้ช่วยในการสอนนั้นส่วนใหญ่ต้องใช้ประสาทตาและประสาทหูในการรับรู้ จึงเปลี่ยนมาใช้คำว่า “โสตทัศนอุปกรณ์” หรือ “โสตทัศนูปกรณ์” (Audio-Visual Aids) นอกจากนี้ยังมีคำที่เกี่ยวข้องและมีความหมายใกล้เคียงกัน เช่น Audio-Visual Education, Educational Media, Instructional Media, Instructional Material, Instructional Technology, Audio-Visual Media, Audio-Visual Communication, Communication Media, Teaching Aids, Technology for Education....

........1.1 ความหมาย ประเภท ของสื่อการเรียนการสอน
นักวิชาการในวงการเทคโนโลยีทางการศึกษา โสตทัศนศึกษา และวงการการศึกษา ได้ให้คำจำกัดความของ “สื่อการสอน” ไว้อย่างหลากหลาย เช่น ชอร์ส กล่าวว่า เครื่องมือที่ช่วยสื่อความหมายจัดขึ้นโดยครูและนักเรียน เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ เครื่องมือการสอนทุกชนิดจัดเป็นสื่อการสอน เช่น หนังสือในห้องสมุด โสตทัศนวัสดุต่าง ๆ เช่น โทรทัศน์ วิทยุ สไลด์ ฟิล์มสตริป รูปภาพ แผนที่ ของจริง และทรัพยากรจากแหล่งชุมชน....

........1.2 คุณค่า และประโยชน์ของสื่อการเรียนการสอน
1. คุณค่าของสื่อการเรียนการสอน
1. ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ ได้แก่
1.1 เรียนรู้ได้ดีขึ้นจากประสบการณ์ที่มีความหมายในรูปแบบต่าง ๆ
1.2 เรียนรู้ได้อย่างถูกต้อง
1.3 เรียนรู้ได้ง่ายและเข้าใจได้ชัดเจน
1.4 เรียนรู้ได้มากขึ้น
1.5 เรียนรู้ได้ในเวลาที่จำกัด....

........1.3 หลักการเลือกและการใช้สื่อการเรียนการสอน
1. ใช้สื่อการสอนในขั้นนำเข้าสู่บทเรียน ทั้งนี้เพื่อเร้าผู้เรียนให้เกิดความสนใจ และเปลี่ยนพฤติกรรมในเบื้องต้น โดยปรับตนเองให้พร้อมที่จะเรียนรู้บทเรียนใหม่ ซึ่งอาจกระทำได้โดยการรื้อฟื้นความรู้เดิม (assimilation) หรือขยายความรู้เดิม (accommodation) เพื่อนำมาใช้ให้ประสานกันกับความรู้ใหม่ ซึ่งจะเรียนในขั้นต่อไป.....


หน่วยที่ 2 จิตวิทยาที่เกี่ยวข้องกับการสร้างสื่อการเรียนการสอน




การเรียนการสอนซึ่งจะเป็นเรื่องราวทางจิตวิทยาที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา อันได้แก่ ทฤษฎีการเรียนรู้ ทฤษฎีแรงจูงใจ และทฤษฎีพัฒนาการ ลักษณะธรรมชาติผู้เรียน สิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อการเรียนรู้ตลอดจนวิธีการนำความรู้ความเข้าใจที่เกิดขึ้นไปประยุกต์ใช้....

........2.1 จิตวิทยาการรับรู้
การรับรู้ หมายถึง การรู้สึกสัมผัสที่ได้รับการตีความให้เกิดความหมายแล้ว เช่นในขณะนี้ เราอยู่ในภาวะการรู้สึก(Conscious) คือลืมตาตื่นอยู่ ในทันใดนั้น เรารู้สึกได้ยินเสียงดังปังมาแต่ไกล(การรู้สึกสัมผัส-Sensation) แต่เราไม่รู้ความหมายคือไม่รู้ว่าเป็นเสียงอะไร เราจึงยังไม่เกิดการรับรู้ แต่ครู่ต่อมามีคนบอกว่าเป็นเสียงระเบิดของยางรถยนต์ เราจึงเกิดการรู้ความหมายของการรู้สึกสัมผัสนั้น ดังนี้เรียกว่าเราเกิดการรับรู้.....

........2.2 จิตวิทยาการเรียนรู้
จิตวิทยาการเรียนรู้ (Psychology of Learning ) เป็นการศึกษาธรรมชาติการเรียนรู้ และองค์ประกอบต่าง ๆ ที่มีอิทธิพลต่อการเรียนรู้...

........2.3 จิตวิทยาพัฒนาการ
จิตวิทยาพัฒนาการ ( Developmental )เป็นการศึกษาเกี่ยวกับพัฒนาการด้านต่างๆ ของมนุษย์ตั้งแต่ปฏิสนธิจนถึงวัยชรา....


หน่วยที่ 3 การสื่อสาร.
การสื่อสาร คือกระบวนการสำหรับแลกเปลี่ยนสาร รูปแบบอย่างง่ายของสาร คือ จะต้องส่งจากผู้ส่งสารหรืออุปกรณ์เข้ารหัส ไปยังผู้รับสารหรืออุปกรณ์ถอดรหัส....

.......3.1 ความหมายและองค์ประกอบของการสื่อสาร.
ระบบสื่อสารข้อมูลมีองค์ประกอบพื้นฐาน คือ ผู้ส่งสาร (Sender) คือ แหล่งข้อมูลเริ่มต้น ข้อมูลข่าวสาร ได้แก่ บุคคล สื่อมวลชน สาร หรือข้อมูล (Message) คือ เรื่องราวที่ต้องการให้ผู้อื่นได้รับรู้ มีความหมาย และ สาระสำคัญเพื่อจุดประสงค์ใดจุดประสงค์หนึ่ง ที่ผู้ส่งต้องการสื่อไปยังผู้รับสาร อาจอยู่ในรูปแบบที่หลากหลาย เช่น ข้อความ ท่าทาง การแสดงสีหน้า คำพูด น้ำเสียง การสัมผัส เป็นต้น....

.......3.2 รูปแบบของสื่อการสอน
รูปแบบทิศทางของการสื่อสาร 1. การส่งข้อมูลแบบทิศทางเดียว (Simplex Transmission) เป็นการสื่อสารข้อมูลที่มีผู้ส่งข้อมูลทำหน้าที่ส่งข้อมูลแต่เพียงอย่างเดียว และผู้รับข้อมูล ก็ทำหน้าที่รับข้อมูลแต่เพียงอย่างเดียวด้วยเช่นกัน การส่งข้อมูลในลักษณะนี้ เช่น การส่งสัญญาณของสถานีโทรทัศน์ไปยังเครื่องรับโทรทัศน์ โดยที่สถานีส่งสัญญาณโทรทัศน์จะทำหน้าที่ส่งสัญญาณเท่านั้น และเครื่องรับโทรทัศน์ก็จะทำหน้าที่รับสัญญาณเท่านั้นเช่นกัน

........3.3 แบบจำลองของการสื่อสาร
การสื่อสารโดยทั่วไปจะมีลักษณะสำคัญ 3 ประการ คือ
ผู้ส่งหรือผู้สื่อ --- --- --- เนื้อหา เรื่องราว และกระบวนการสื่อสาร --- --- --- ผู้รับ
ความมุ่งหมายของการสื่อสารคือ การที่ผู้รับยอมรับสารที่ผู้ส่ง ส่งไปยังผู้รับ ถ้าผู้รับเข้าใจความหมายของสาร ที่ผู้ส่งขอให้ผู้รับปฏิบัติ แต่ผู้รับไม่ปฏิบัติตาม ความสำเร็จตามความมุ่งหมายของการสื่อสารนั้นก็ไม่เกิดขึ้น ในทางตรงกันข้าม หากผู้รับตอบสนองต่อสารที่ผู้ส่งส่งไปยังผู้รับ และปฏิบัติตามความเหมาะสม ความมุ่งหมาย ของการสื่อสารนั้นก็ถือว่าประสบความสำเร็จ....

........3.4 การสื่อสารกับกระบวนการเรียนการสอน
รูปแบบกระบวนการสื่อสารของเบอร์โล เป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวาง เรียกว่า S.M.C.R.Process Model ได้ถูกนำมาใช้เป็นพื้นฐานของทฤษฎีการเรียนรู้ และนำมาประยุกต์ใช้เป็นหลักการพื้นฐานของเทคโนโลยี การศึกษาได้เป็นอย่างดี....




หน่วยที่ 4 การออกแบบสื่อการเรียนการสอน

การออกแบบสื่อ องค์ประกอบที่สำคัญในการเรียนการสอนคือสิ่งที่ครูมักนำไปประกอบการเรียนการสอนนั่นก็คือ สื่อการสอนนั่นเอง สื่อการสอนนับว่ามีประโยชน์มากเพราะสื่อการสอนเปรียบเป็นกุญแจสำคัญที่จะช่วยให้ผู้เรียนได้เข้าใจในเนื้อหาและได้เห็นภาพได้อย่างชัดเจนยิ่งขึ้นมากกว่าที่ครูผู้สอนจะสอนโดยการมาบรรยายหรือสอนตามเนื้อหา โดยไม่มีอุปกรณ์ช่วยสอนเลย....

........4.1 ความหมายของการออกแบบสื่อการเรียนการสอน
การออกแบบสื่อการสอน คือ การวางแผนสร้างสรรค์สื่อการสอนหรือการปรับปรุงสื่อการสอนให้มีประสิทธิภาพและมีสภาพที่ดี โดยอาศัยหลักการทางศิลปะ รู้จักเลือกสื่อและวิธีการทำ เพื่อให้สื่อนั้นมีความสวยงาม มีประโยชน์และมีความเหมาะสมกับสภาพการเรียนการสอน....

........4.2 วิธีระบบกับการออกแบบสื่อการเรียนการสอน
เป็นวิธีการนำเอาผลที่ได้ ซึ่งเรียกกันว่า ข้อมูลย้อนกลับ (Feed Back) จากผลผลิตหรือการประเมินผล มาพิจารณาปรับปรุงแก้ไข่ ระบบให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น การพิจารณาแก้ไขนั้นอาจจะแก้ไขสิ่งที่ป้อนเข้าไปหรือที่ขบวนการก็แล้วแต่เหตุผลที่คิดว่าถูกต้อง แต่ถ้าปรับปรุงแล้วอาจจะได้ผลออกมาไม่เป็นที่พอใจอีกก็ต้องนำผลนั้นมาปรับปรุงแก้ไขใหม่ ต่อเนื่องกันไป จนเป็นที่พอใจ ฉะนั้นจะเห็นว่าวิธีระบบเป็นขยายการต่อเนื่องและมีลักษณะเช่นเดียวกันวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ข้อสำคัญอีกประการหนึ่งของการวิเคราะห์ระบบ ก็คือ บุคคลที่จะทำการวิเคราะห์ระบบนั้น ควรจะเป็นบุคคลที่เกี่ยวข้องในระบบมาพิจารณาร่วมกัน....

........4.3 การสร้างแบบจำลองการออกแบบสื่อการเรียนการสอน
1. แบบจำลองเชิงนามธรรม เชิงแนวคิด หรือแบบจำลองที่เป็นซอฟต์แวร์ เช่น แบบจำลองคณิตศาสตร์ แบบจำลองวิทยาศาสตร์ แบบจำลองคอมพิวเตอร์ ทฤษฎีการสร้างแบบจำลอง แบบจำลองความคิด เป็นต้น แบบจำลองเชิงนามธรรม หรือแบบจำลองเชิงแนวคิด เป็นสิ่งที่สร้างขึ้นเชิงทฤษฎีเพื่อแทนกระบวนการเชิงสังคม เชิงชีววิทยา หรือ เชิงฟิสิกส์ ด้วยเซต ของตัวแปรและเซตของความสัมพันธ์ ระหว่างตัวแปรเหล่านั้นทั้งเชิงตรรก และ เชิงปริมาณ แบบจำลองจะถูกสร้างขึ้นเพื่อแสดงเหตุผลภายในกรอบงานเชิงตรรกใน อุมดมคติของกระบวนการต่าง ๆ ซึ่งสำคัญต่อทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์โดยแบบจำลองเป็นสิ่งที่ทำให้สมมติฐานต่าง ๆชัดแจ้งขึ้น ว่าถูกหรือผิดในรายละเอียด....


หน่วยที่ 5 การผลิตสื่อกราฟิก





ความหมายของวัสดุกราฟิก
วัสดุกราฟิก ประกอบด้วยคำ 2 คำ คือ วัสดุ + กราฟิก
วัสดุ หมายถึงสิ่งของที่มีอายุการใช้งานระยะสั้น
กราฟิก หมายถึงการแสดงด้วยลายเส้น
วัสดุกราฟิก หมายถึง วัสดุลายเส้นประกอบด้วย ภาพลายเส้น ตัวอักษร การ์ตูน และสัญลักษณ์ เพื่อเสนอเรื่องราวความรู้ หรือเนื้อหาสาระให้รับรู้และเข้าใจได้ง่ายรวดเร็ว

........5.1 ความหมาย และคุณค่าของสื่อกราฟิก
สื่อกราฟิก หมายถึง การอธิบายด้วยภาพประกอบข้อมูลต่างๆเพื่อให้เกิดความเข้าใจ
ประเภทของสื่อกราฟิก
1.การออกแบบ สัญลักษณ์ต่างๆ
2.การออกแบบและจัดทำแผนภูมิ แผนภาพ แผนสถิติ
3.การวาดภาพอวัยวะ และระบบต่างๆของร่างกายมนุษย์ ได้แก่ ระบบกระดูก ระบบกล้ามเนื้อ....

........5.2 การใช้สีกับสื่อการเรียนการสอน
จุดประสงค์ของการเรียนรู้1. เพื่อให้รู้ถึงความหมายของสีและการใช้สีในงานออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์ 2. เพื่อให้รู้ถึงคุณค่าและความสำคัญของการใช้สีในงานออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์ 3.เ พื่ีอให้รู้ถึงแนวทางในการเลือกใช้ในการสร้างสรรค์งานสื่อสิ่งพิมพ์ 4.เ พื่อให้รู้ถึงหลักการพิจารณาในการเลือกใช้สีในงานออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์ สีและการใช้สี ความเข้าใจในเรื่องของสีเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยให้งานออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์มีความสดใสสวยงาม น่าสนใจ และมีบทบาทในการสื่อความหมายได้อย่างถูกต้อง เหมาะและมีคูณภาพอีกด้วย ดั้งนั้น การเลือกใช้สีควรจะได้ศึกษาให้มีความรู้ความเข้าใจเพื่อที่จะได้นำสีไปใช้ประกอบในงานออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์ เพื่อให้งานนั้นสามารรถตอบสนองได้ตรงตามจุดประสงค์มากที่สุดซึ่งแต่ละสีให้ความรู้สึกอารมณ์แก่ผู้ดูต่างๆ กันออก ไป....

........5.3 การเขียนภาพการ์ตูน
การเขียนภาพการ์ตูน
สำหรับเด็กนั้นโดยมากมักนิยมเขียนภาพสัตว์ด้วยฝีมือมายา คือจงใจให้ผิดเพี้ยนไปจากของจริงมากมายเกินกว่าปกติ ดูเสมือนว่าเขียนออกมาอย่างหยาบๆ ง่ายๆ แต่ช่างเขียนนั้นเขียนขึ้นโดยความยากลำบากทั้งนั้นทุกรูป แต่เขาจงใจให้มองดูเขียนขึ้นอย่างลวกๆ การให้สีหนังสือเดกมักใช้สีฉูดฉาดบาดตา ภาพการ์ตูนสำหรับเด็กอีกระดับหนึ่ง หมายถึงระดับเด็กอายุ ๑๑ - ๑๖ ปี ระยะนี้การ์ตูนประกอบเรื่องจะต้องมีความปราณีต ขบขัน สวยงาม ตลอดจนกระทั่งฝีมือในการเขียนภาพประกอบจะต้องดีพอ จึงจะสามารถดึงดูดเด็กในวัยนี้ให้สนใจได้ สีสันของภาพประกอบต้องนุ่มนวลมากขึ้น เพราะเด็กนักเรียนวัยนี้เป็นวัยที่รู้ความสวยงามของธรรมชาติและสัตว์ได้เป็นส่วนใหญ่ ฉะนั้นภาพประกอบหนังสือสำหรับเด็ก ๑๑ - ๑๖ ขวบ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ช่างจะต้องระดมความเพียรในการเขียนภาพประกอบหนังสือให้เขาด้วยความรู้สึกนึกคิดที่สุขุมรอบคอบอย่างยิ่งเป็นพิเศษ เด็กระยะนี้กำลังจะถึงระยะหัวเลี้ยวหัวต่อของชีวิตความเป็นเด็กกับความเป็นผู้ใหญ่ ....

........5.4 การออกแบบตัวอักษรหัวเรื่อง
วิธีการออกแบบตัวอักษร
การออกแบบตัวอักษร นักเรียนจะต้องรู้จักกำหนดความสูง ความกว้าง และความยาวของประโยค ตัวอักษรที่จะออกแบบเพื่อให้ได้ตัวอักษรที่เหมาะสมกับเนื้อที่อย่างเหมาะสม
วิธีการออกแบบตัวอักษรแบ่งออกเป็น 4 ขั้น ดังนี้
1. ตีเส้นกำกับบรรทัด (Guide line) คือ การขีดเส้นตามแนวนอน ห่างกันตามความสูงของตัวอักษร เว้นด้านล่าง และด้านบน เหลือไว้พอสมควร เพื่อเขียนสระและวรรณยุกต์ เส้นกำกับบรรทัดนี้ควรขีดให้เบาพอมองเห็น เพื่อใช้เป็นแนวร่างตัวอักษรให้มีขนาดตามต้องการ 2. ตีเส้นร่างตามขนาดและจำนวนตัวอักษร ในการออกแบบตัวอักษรลงบริเวณใด เพื่อความเหมาะสมและสวยงาม จึงควรนับจำนวนตัวอักษรที่จะเขียนทั้งหมด แล้วจึงคำนวณเนื้อที่ทั้งหมดสำหรับบรรจุตัวอักษรลงไป แล้วตีเส้นร่างเบา ๆ ตามขนาดและจำนวนตัวอักษรทั้งหมด 3. การร่างตัวอักษร การร่างควรเขียนด้วยเส้นเบา เพื่อสะดวกต่อการลบ เมื่อเกิดการผิดพลาดหรือเมื่องานเสร็จแล้ว จะได้ลบเส้นที่ไม่ต้องการออกได้ง่ายไม่สกปรก 4. การลงสี เมื่อได้แบบตัวอักษรที่แน่นอนแล้วจึงลงสี หรือหมึก ให้เกิดความสวยงามตามต้องการ.....


หน่วยที่ 6 การสร้างสื่อราคาเยา
แนวคิดทางการศึกษา ปัจจุบันมุ่งขยายขอบเขตทรัพยากรการเรียนรู้ออกไปทุกแบบ เช่น สื่อเกี่ยวกับบุคคล อาคาร สถานที่ วัสดุ อุปกรณ์ ตลอดจนวิธีการต่าง ๆ ทางการศึกษา เกี่ยวกับวัสดุที่จะใช้เป็นการเรียนการสอนนั้น จึงมิได้จำกัดอยู่เพียง สิ่งที่ทำขึ้นเพื่อใช้เป็นสื่อโดยตรงเท่านั้น แต่วัสดุการสอน หมายถึง วัสดุทุกสิ่งทุกอย่างที่ ครูพึงหามาใช้ ประกอบการสอน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสิ่งที่หามาได้ง่ายในท้องถิ่น ซึ่งครู ผู้สอนส่วนหนึ่งมักมองข้ามไป เมือนึกถึงวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับการสอนสักเรื่องหนึ่ง ก็มักจะนึกถึงสื่อสำเร็จรูปจำพวกรูปภาพ แผนภูมิ สไลด์ ที่มีผลิตขาย ราคาค่อนข้างสูง....

........6.1 ความหมาย คุณค่า และประโยชน์ของสื่อราคาเยา
สื่อราคาเยานอกจากจะหมายถึง สื่อที่มีราคาถูกแล้วยังหมายถึงสื่อต่าง ๆ ที่มีอยู่ตามธรรมชาติไม่ต้องซื้อหาด้วยราคาแพง สิ่งที่ครูคิดประดิษฐ์ขึ้นด้วยวัสดุราคาถูก หรือหาได้ง่าย รวมถึงสื่อสิ่งของได้เปล่าจากการแจกจ่ายเผยแพร่ของหน่วยงาน....

........6.2 หลักการออกแบบและการสร้างสื่อราคาเยา
ตัวอย่างการเลือกสื่อการสอนที่พบเห็นได้เสมอ เช่นครูสอนคณิตศาสตร์เกี่ยวกับการนับจำนวน การบวก การลบ และต้องการวัสดุเป็นชิ้น ๆ ก้อน ๆ จำนวนหนึ่ง เพื่อให้นักเรียนได้ลงมือนับจำนวน แทนที่ครูจะนึกถึงก้อนดิน หิน หรือวัสดุอื่นอีกมาก ที่หาได้ไม่ยากในท้องถิ่น มาให้นักเรียนนับ แต่ครูกลับนึกถึงก้อนแม่เหล็กเป็นอันดับแรก และพยายามเรียกร้องให้มีการจัดซื้อกระดานแม่เหล็กมาใช้สอนนับจำนวน กรณีเช่นนี้เราได้นับจำนวนก้อนหินดูจะก่อให้เกิดการเรียนรู้ได้มากกว่าการนับชิ้นส่วนบนกระดานแม่เหล็กเสียอีก ถ้าก้อนหินหาได้ง่ายนักเรียนทุกคนสามารถหามาได้ง่าย เปิดโอกาสให้นักเรียนมีส่วนร่วมอย่างเต็มที่...

........6.3 วัสดุกับเทคนิคการออกแบบ
วัสดุการสอน หมายถึงวัสดุทุกสิ่งทุกอย่าง ที่ครูพึงหามาใช้ประกอบการเรียนการสอน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสิ่งที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น ซึ่งครูผู้สอนส่วนหนึ่งมักจะมองข้ามไป เมื่อนึกถึงวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับการเรียนการสอนสักเรื่องหนึ่ง ก็มักจะนึกถึงเฉพาะสื่อสำเร็จรูป จำพวกรูปภาพ แผนภูมิสไลด์ ที่มีผลิตขายเป็นธุรกิจการค้า ราคาค่อนข้างสูง สิ่งของที่หาได้ง่ายสำหรับการสอนบางเนื้อหา เช่น ใบไม้ ก้อนหิน ดิน ทราย บางครั้งมีคุณค่ายิ่งกว่าสื่อข้างต้นเสียอีก ถ้ารู้จักนำมาใช้อย่างเหมาะสมเพราะสิ่งเหล่านี้เป็นของจริง ซึ่งเรายอมรับกันว่ามีคุณค่าสูงสุด สำหรับการเรียนการสอน....

........6.4 การประเมินสื่อการสอนราคาเยา
1. ความจำเป็นด้านเศรษฐกิจของชาติ ในข้อนี้นักศึกษาตลอดถึงครูผู้สอน ผู้บริหารการศึกษาทั้งหลายย่อมทราบและตระหนักกันอยู่แล้วว่าประเทศของเรา เป็นประเทศกำลังพัฒนาหลาย ๆ ด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับการลงทุน เพื่อการพัฒนาไปเป็นประเทศอุตสาหกรรมใหม่ ต้องกู้เงินจากต่างประเทศปีละมาก ๆ ต้องจ่ายเงินกลับให้ต่างชาติรวมเงินต้นและดอกเบี้ยในแต่ละปีเป็นจำนวนเงินมหาศาล ในด้านการศึกษาเองก็มีโครงการที่กู้เงินจากต่างประเทศมาดำเนินการอยู่เป็นจำนวนไม่น้อย เมื่อสภาพการณ์ เป็นเช่นนี้ การพิจารณาจัดหาสื่อหรือ เทคโนโลยีการศึกษามาใช้จึงควรคำนึงถึงเรื่องการประหยัดไว้ให้มาก....


หน่วยที่ 7 การผลิตสื่อการเรียนการสอนด้วยคอมพิวเตอร์



การผลิตสื่อการสอน e-learningเป็นที่ทราบกันดีว่า ปัจจุบันมีการพูดถึงการพัฒนาระบบ e-learning ในสถาบันการศึกษาเป็นอย่างมาก รัฐบาลได้ให้การสนับสนุนกับการพัฒนาระบบ e-learning เป็นอย่างมาก และได้มีการพัฒนาในส่วนต่างๆ อย่างรวดเร็วตามการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วของเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ท ตัวอย่างที่ชัดเจนและเป็นรูปธรรมก็คือการถือกำเนิดของ มหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย (Thailand cyber university) และการพัฒนาศูนย์กลาง e-learning ของโรงเรียนมัธยมศึกษาทั่วประเทศ....












........7.1 คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI)
CAI ย่อมาจากคำว่า COMPUTER-ASSISTED หรือ AIDED INSTRUCTIONคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) หมายถึง สื่อการเรียนการสอนทางคอมพิวเตอร์รูปแบบหนึ่ง ซึ่งใช้ความสามารถของคอมพิวเตอร์ในการนำเสนอสื่อประสมอันได้แก่ ข้อความ ภาพนิ่ง กราฟิก แผนภูมิ กราฟ วิดีทัศน์ ภาพเคลื่อนไหว และเสียง เพื่อถ่ายทอดเนื้อหาบทเรียน หรือองค์ความรู้ในลักษณะที่ ใกล้เคียงกับการสอนจริงในห้องเรียนมากที่สุด....

........7.2 การใช้เครือข่ายเพื่อการเรียนการสอน
การจัดตั้งสมาคม APEC เพื่อการศึุกษาทางอินเตอร์เนต
ตามกระแสการเปลี่ยนสังคมที่ต้องมีความรู้ใหม่เป็นหลักฐานการเรียนรู้เทคโนโลยีและการเก็บความรูั้ใหม่จึงเป็นสิ่งที่ เราขาดไม่ได้ สถาบันการศึกษาและครูมีบทบาทมากขึ้นเพราะต้องเตรียมการเรียนการสอนเพื่อส่งนักเรียนให้เข้าทำงาน ในสังคมใหม่ สมาคม APEC เพื่อการศึกษาทางอินเตอร์เนตจัดทำไว้เพื่อตอบสนองความต้องการดังกล่าวของนักเรียน และครู....



หน่วยที่ 8 การผลิตสื่อสิ่งพิมพ์





การสร้างสรรค์งานสิ่งพิมพ์ ในรูปแบบต่างๆ ต้องทำความรู้จักกับรายละเอียดเบื้องต้นที่จำเป็นก่อน โดยการบวนการผลิตงานสิ่งพิมพ์จะประกอบด้วยขั้นตอนต่างๆ เช่น การจัดเตรียมไฟล์งาน การจัดการกับรูปภาพ การเลือกกระดาษ การออกแบบรูปลักษณ์ หรือรูปเล่ม การจัดหน้า เพื่อให้ใด้ผลงานตามรูปแบบที่ต้องการ....

.......8.1 ความหมาย คุณค่า และประโยชน์ของสื่อสิ่งพิมพ์
สื่อสิ่งพิมพ์ หมายถึง สื่อที่ใช้ติดต่อสื่อสารทำความเข้าใจด้วยภาษาเขียน โดยใช้วัสดุกระดาษพิมพ์ได้คราวละมาก ๆ อาจมีรูปแบบแตกต่างกัน เช่น หนังสือ วารสาร จุลสาร แผ่นปลิว โปสเตอร์ ฯลฯ.....

........8.2 ประเภทของสื่อสิ่งพิมพ์
จำแนกได้กว้าง ๆ ได้ 4 กลุ่มใหญ่ คือ
1. หนังสือพิมพ์
2. นิตยสารและวารสาร
3. หนังสือเล่ม
4. สิ่งพิมพ์เฉพาะกิจ....

........8.3 ระบบการพิมพ์
1. ระบบออฟเซ็ตระบบออฟเซ็ต เป็นระบบที่นิยมใช้กันมากที่สุด สมุดหนังสือ ใบปลิว โปสเตอร์ ใบเสร็จ ล้วนแต่พิมพ์ด้วยระบบนี้ทั้งนั้น เพราะพิมพ์ได้สวยงาม พิมพ์ภาพได้ดี พิมพ์สี่สีก็สวย เหมาะสำหรับงานที่ยอดพิมพ์สูงๆ ควรจะหลายพันหรือเป็นหมื่นขึ้นไปจึงจะคุ้ม เพราะแม่พิมพ์มีราคาแพง พิมพ์สิบใบก็ได้ แต่ราคาต่อใบจะสูงมาก....

........8.4 การเลือกและการใช้สื่อสิ่งพิมพ์เพื่อการเรียนการสอน
การพิมพ์จึงเป็นวิธีการหนึ่งในการนำมาใช้ผลิตสำเนาเอกสารทางวิชาการซึ่งต้องการปริมาณมาก เช่น หนังสือ ตำราต่าง ๆ เพื่อใช้ประกอบการเรียนการสอน หรือเพื่อใช้เป็นคู่มือ เป็นตำราในการค้นคว้าอ้างอิง ทั้งยังช่วยในการเผยแพร่ ความคิดทางด้าน วิทยาการต่าง ๆ ให้เจริญก้าวหน้าอีกด้วย ในการให้การศึกษาจำเป็นต้องมีเอกสารประกอบการเรียนการสอน เพื่อขยายความรู้และทฤษฎีต่าง ๆ ให้กว้างขวางขึ้น.....

*การออกแบบงานกราฟิก*

ความหมาย
การออกแบบ หมายถึง กระบวนการถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิดหรือ จินตนาการออกมาเป็นรูปแบบต่างๆ ทำให้เราสามารถรับรู้ด้วยประสาท สัมผัส ซึ่งอาจเป็นทางตา หู ผิวสัมผัส รส กลิ่นก็ได้

แนวคิด
- การออกแบบ เกิดจากพื้นฐานทางความคิดและ ทางทัศนการสื่อสาร(visual communication)
- การออกแบบเป็นการรักษาสมดุลระหว่างพลังการแสดงออกหรือพลัง ความคิดสร้างสรรค์เฉพาะบุคคล กับความพึงพอใจของกลุ่มเป้าหมาย

ความสำคัญ
การออกแบบเป็นเรื่องของมนุษย์โดยตรง สัตว์อื่นๆไม่สามารถออกแบบได้ นอกจาก การสร้างงานด้วยสัญชาติญาณเท่านั้น มนุษย์มีการออกแบบเพื่อตอบสนองความต้องการ ทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ การออกแบบมีมาพร้อมๆกับการเกิดของมนุษย์ ตั้งแต่อดีต จนปัจจุบัน และตั้งแต่เกิดจนตาย

เป้าหมาย
1. เพื่อความสะดวกสบายและตอบสนองความต้องการของมนุษย์
2. เพื่อการสร้างสรรค์และแสดงคุณค่าของผลงาน
3. เพื่อการวางแผนในเชิงทรัพยากรหรือการลดต้นทุน
4. เพื่อการประหยัดเวลาในการนำเสนอข่าวสาร
5. เพื่อประสิทธิภาพในการสื่อสารให้ผู้รับเข้าใจได้อย่างถูกต้อง

คุณสมบัติของนักออกแบบ
1. มีความรู้ความสามารถและทักษะในการออกแบบ
2. เข้ากระบวนการใช้งานออกแบบได้อย่างเหมาะสม
3. มีวิธีนำเสนอผลงานได้อย่างสร้างสรรค์และโดดเด่น
4. มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีและทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพ
5. สามารถประยุกต์ใช้จิตวิทยาการรับรู้ได้อย่างดี

กราฟิก
หนังสือ นิตยสาร วารสาร
ป้ายโฆษณา โปสเตอร์ แผ่นพับ
ใบปลิว ผลิตภัณฑ์ ภาพยนตร์
บรรจุภัณฑ์ งานตกแต่ง เว็บไซต์

องค์ประกอบของกราฟิก
•ตัวอักษร(typographic)
•สัญลักษณ์(symbol)
•ภาพประกอบ(illustrator)
•ภาพถ่าย(photography)

ความแตกต่าง
การออกแบบ เป็นการใช้กระบวนการคิดแบบ จินตนาการ อิสระ และสร้างสรรค์
การวางแผน เป็นการใช้ความคิดเป็นขั้นตอน ที่จะนำไปสู่รูปแบบของจินตนาการ

กระบวนการออกแบบ
1. พิจารณาเนื้อหา
2. วิเคราะห์กลุ่มเป้าหมาย
3. วิเคราะห์จุดมุ่งหมายของแต่ละงาน
4. จัดองค์ประกอบให้เหมาะสมกับข้อ1,2,และ3

องค์ประกอบของทัศนศิลป์
เส้น สี จุด พื้นผิว รูปร่าง รูปทรง
สี เส้น สี สี พื้นผิว พื้นผิว จุด จุด สี เส้น


สี color


สี หมายถึง แสงที่ตกกระทบวัตถุแล้วสะท้อนเข้าสู่ตาเรา ทำให้มองเห็นวัตถุเหล่านั้นเป็นสีต่างๆตามคุณลักษณะของแสงสะท้อน


มิติ การใช้สีในการออกแบบ
•มิติ..สีโทนร้อน/สีโทนเย็น
•มิติ..สีกลมกลืน/สีตัดกัน
•มิติ..สีมืด/สีสว่าง


มิติ การใช้สีในการออกแบบ
•การใช้สีโทนร้อน/สีโทนเย็น
•สีโทนร้อน ตื่นเต้น รุนแรง โดดเด่น
•สีโทนเย็น ร่มรื่น ปลอดภัย เป็นกันเอง


มิติ การใช้สีในการออกแบบ
•การใช้สีกลมกลืน/สีตัดกัน
•สีกลมกลืน นุ่มนวลอ่อนหวาน เป็นกันเอง พวกเดียวกัน
•สีตัดกัน ตื่นเต้น ขัดแย้ง ลึกลับ จริงจัง แข็งแรง อันตราย


มิติ การใช้สีในการออกแบบ
•มิติการใช้สีมืด/สีสว่าง
•สีมืด มั่นคง ลึกลับ เข้มแข็ง จริงจัง ลดปริมาณพื้นที่
•สีสว่าง เปิดเผย กว้างขวาง เป็นกันเอง เพิ่มปริมาณพื้นที่



เส้น Line


เส้น เป็นองค์ประกอบที่มีรูปลักษณะเป็นรอยยาวต่อเนื่องกัน
หน้าที่สำคัญของเส้นคือการแสดงทิศทาง
ลักษณะของเส้นจำแนกได้เป็น 2 กลุ่มคือ
กลุ่มเส้นตรงและกลุ่มเส้นไม่ตรง

กลุ่มเส้นตรง
เส้นตรงตั้งฉาก ให้ความรู้สึกมั่นคง สง่า มีอำนาจ
เส้นตรงแนวนอน ให้ความรู้สึกสงบเงียบ ราบเรียบ
เส้นตรงเฉียง ให้ความรู้สึกรวดเร็ว ไม่มั่นคง ไม่แน่นอน

กลุ่มเส้นไม่ตรง
เส้นโค้ง ให้ความรู้สึกนุ่มนวล อ่อนหวาน
เส้นคด ให้ความรู้สึกสับสน งุนงง กังวล
เส้นซิกแซก ให้ความรู้สึกรุนแรง ไม่ไว้ใจ ตื่นเต้น

พื้นผิว texture

พื้นผิวเป็นองค์ประกอบที่ให้ความรู้สึกสัมผัสด้านนอกสุดของวัตถุสิ่งของ
พื้นผิวมี 2 มิติ ได้แก่
1. มิติพื้นผิวเรียบ/พื้นผิวขรุขระ
2. มิติพื้นผิวด้าน/พื้นผิวมันวาว

การใช้พื้นผิวกับการออกแบบ
1. พื้นผิวเรียบ ให้ความรู้สึกมีระเบียบ จริงจัง เป็นทางการ
2. พื้นผิวขรุขระ ให้ความรู้สึกน่ากลัว ลึกลับ ขบขัน
3. พื้นผิวด้าน ให้ความรู้สึกเป็นกันเอง สบาย ๆ เฉื่อยชา
4. พื้นผิวมันวาว ให้ความรู้สึกตื่นเต้น รวดเร็ว ฉาบฉวย


จุด Dot
เป็นองค์ประกอบที่มีขนาดเล็กที่สุดทำหน้าที่สำคัญคือการแสดงตำแหน่ง
การวางจุดตั้งแต่2 จุดขึ้นไปเรียงไปทิศทางเดียวกันจะทำให้ดูเป็นเส้น
แต่ถ้าวางจุดไว้ตำแหน่งใกล้กันเป็นกลุ่มก้อนจะแลดูเป็นรูปร่างรูปทรง


รูปร่าง Form
รูปร่างเป็นลักษณะของพื้นที่ภายในที่ถูกล้อมรอบด้วยเส้นเส้นเดียว
ที่ลากปลายทั้งสองด้านมาบรรจบกันหรือปลายด้านใดด้านหนึ่งลาก
ไปบรรจบช่วงใดช่วงหนึ่งของเส้นเดียวกันก็ทำให้เกิดรูปร่างได้
ส่วนพื้นที่ด้านนอกของรูปร่างเรียกว่า “พื้น” (ground)
รูปร่างมี 2 มิติคือความกว้างกับความยาว

รูปทรง Shape
รูปทรง มีลักษณะเหมือนกับรูปร่าง แต่รูปทรงมี 3 มิติ ได้แก่
ความกว้าง ความยาว และความหนาหรือความลึก

การจัดภาพ COMPOSITION
ความหมาย
การจัดภาพ หมายถึง การนำองค์ประกอบต่างๆ มาเรียบเรียงหรือ
จัดวางให้ได้ภาพตามที่ต้องการ การจัดภาพจึงเป็นการออกแบบ
เพื่อการถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิดให้เป็นรูปธรรม

หลักการออกแบบ
การออกแบบให้บรรลุวัตถุประสงค์ควรคำนึงถึงหลักใหญ่ๆ 2 ประการคือ
1. หน้าที่ (function) ของชิ้นงาน
2. ความสวยงาม(beauty) ของชิ้นงาน

หลักการจัดภาพ
1. ความสมดุล (balance)
2. การเน้น (emphasis)
3. ความเป็นเอกภาพ (unity)









*นิทานเรื่องอึ่งอ่างกับวัว*


ภาพ ๆ นี้ เป็นภาพที่วาดขึ้นด้วยปากกาสีดำ และ ระบายสีด้วยสีโทนต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น สีโทนร้อน และ สีโทนเย็น และในภาพ ๆ นี้ เป็นภาพอึ่งอางกำลังมีความสุข ซึ่งเป็นตอน ๆ หนึ่งของนิทานเรื่องนี้


ภาพ ๆ นี้ เป็นภาพที่ แม่อึ่งอ่างตัวหนึ่งกำลังโมโห และได้พูด กับ ลูกอึ่งอ่าง มีข้อความของเรื่องดังนี้
"ขนาดนี้ ยังไม่ถึงครึ่งของตัวมันเลยจ้ะแม่" ลูกอึ่งอ่างบรรยาย
" This is not half of its size , mother ," said the young bullfog .






ภาพ ๆ นี้ เป็นภาพที่แม่อึ่งอ่างตัวหนึ่งกำลังโมโห และ พยายามพองตัวให้ตัวของมันนั้นใหญ่ขึ้น มีข้อความในเรื่องดังนี้
แม่อึ่งอ่างนึกโมโห จึงพูดว่า "แม่จะพองตัวให้โตกว่านี้อีก และมันก็พยายามพองตัวขึ้นอีก"
The mother bullfrog turned a little angry . " I will puff myself out even larger ," She said and then did it more .
*ปล.*
ส่วนเนื้อหาของเรื่อง จะดำเนินอย่างไรต่อไป ติดตามอ่านได้ที่ web ของ
น.ส. แสงรวี ทิฆัมพรบรรเจิด
น.ส. วราภรณ์ ว่องวรรณกร



วิธีการทำ photoshop ง่ายๆ

สวัสดีจ้า วันนี้จะมาสอนการทำอักษร ไฟชอต มันแปลกดี เรานั่งอ่านคู่มือตั้ง 2 อาทิตย์ กว่าจะเข้าใจ ก็แน่หละ ต้นฉบับเขียนย่อซะ และเราจะเอามาแปล และอธิบายอย่างละเอียด


เราจะสอนวิธีการทำพื้นฐานก่อนน่ะ แบบภาพนิ่ง เมื่อทำได้แล้ว เราจะสอนให้มันชอตๆๆๆเหมือนจริงให้


ขั้นตอนแต่งตัวอัวอักษร

1. เปิดไฟล์ใหม่ขึ้นมา ขนาดตามใจชอบ ทำให้พื้นหลังเป็นสีดำ ตัวอักษรสีอะไรก็ได้ค่ะ




2. จัดการแต่งตัวอักษรให้สวยงาม โดยการไปที่ Layer >> Layer Style >> Belding Option (หรือคลิกที่ >> Belding Option) แล้วตั้งค่าดังต่อไปนี้

Inner Shadow

Bevel and Emboss

Satin


Pattern

สำหรับคนที่ไม่มีแพทเทิร์นนี้ ให้โหลดได้จาก ที่นี่ นะคะ แตก zip ไปวางไว้ที่ C:\Program Files\Adobe\Adobe Photoshop CS2\Presets\Patterns นะคะ

Stroke

(หรือแล้วแต่ว่าอยากได้สีไหนจ้ะ)

เสร็จขั้นตอนแต่งตัวอักษร การแต่งตัวอักษรนี้ ขึ้นอยู่กับผู้ใช้นะคะ ว่าอยากแต่งแบบไหน ไม่จำเป็นต้องตามแบบนี้ก็ได้ แต่ว่า ตัวอักษรไฟชอต มันเหมาะกับการแต่งแบบนี้ที่สุด
ขั้นตอนการทำแสงไฟชอตภาพนิ่ง
1. กด Ctrl ที่แป้นพิมพ์ พร้อมๆ กับคลิกที่ T ตรงเลเยอร์ที่เราแต่งตัวอักษรไปเมื่อกี๊ เพื่อเลือก selection


ออกมาจะเป็นแบบนี้นะ
2. ต่อไปให้ไปที่ Select >> Modify >> Expend แล้วเลือกไว้ที่ 2 pixels

ตอนนี้จะเส้นประๆ จะเหลือมออกไปนอกตัวอักษรแล้วนะคะ

3. ที่พาเลทเลเยอร์ ให้เลือก Channel

4. แล้วสร้าง Channel ใหม่ โดยการไปที่

5. เซตให้ foreground เป็นสีขาว


6. ใช้เครื่องมีถังสี (Paint Bucket Tool) เทลงไปตรง selection



กด Ctrl+D ที่แป้นพิมพ์ เพื่อยกเลิก selection

7. แล้วสร้าง Channel ใหม่อีกที
8. ต่อไปให้ไปที่ Filter >> Texture >> Stained Glass แล้วเซตค่า Cell Size: 14, Border Thickness: 2, Light Intensity: 0 หรือตั้งค่าตามใจ เพื่อให้เหมาะสมกับตัวอักษร ว่าใหญ่หรือเล็ก
จะได้แบบนี้แล้วนะ

9. กด Ctrl ที่แป้นพิมพ์ พร้อมๆ กับคลิกที่ Alpha 2 เพื่อเลือก selection
10. กด Ctrl + Alt + Shift ที่แป้นพิมพ์ พร้อมๆ กับคลิกที่ Alpha 1


อนนี้ก็มี selection เฉพาะ ตัวอักษรแล้วนะคะ

11. ที่พาเลทเลเยอร์ เลือก Layer


11. สร้างเลเยอร์ขึ้นมาใหม่ แล้วเลือกสีอะไรก็ได้ ให้แตกต่างกับสีอักษร เพื่อจะได้เห็นได้ชัดเจน แล้วใช้ (Paint Bucket Tool) เทลงไปตรง selection ที่เห็นอยู่ แล้ว Ctrl+D ที่แป้นพิมพ์ เพื่อยกเลิก Selection

เหมือนใยแมงมุมเรยเนอะ
12. Active เลยเอร์ล่าสุดนะจ๊ะ และเปลี่ยนตรง fill จาก 100% เป็น 0%

13. ต่อไป คลิกที่ >> Outer Glow แล้วตั้วค่าตามนี้

14 ตั้งค่า Inner Glow ดังนี้
จะได้รูปแบบนี้แล้วนะ



15. ต่อไปให้ไปที่ Filter >> Distort >> Ripple แล้วตั้งค่าให้ดูเหมาะสมที่สุด คิดว่าเป็นไฟชอตมากที่สุด นะคะ

16. ต่อไปให้ไปที่ Filter >> Blur >> Gaussian Blur แล้วตั้งค่า Radius ระหว่าง 0.4-0.8 Pixels หรือตามใจที่คิดว่า ดูออกมาสวย เหมือนแสงไฟชอตๆ



เสร็จแล้วค่ะ ทำการเซฟได้เลยค่ะ (File >> Save for Web)












สาระน่ารู้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน


คอมพิวเตอร์ช่วยสอน คือ ?
คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction : CAI) เป็นกระบวนการเรียนการสอน โดยใช้สื่อคอมพิวเตอร์ ในการนำเสนอเนื้อหาเรื่องราวต่างๆ มีลักษณะเป็นการเรียนโดยตรง และเป็นการเรียน แบบมีปฏิสัมพันธ์ (Interactive) คือสามารถโต้ตอบระหว่างผู้เรียนกับคอมพิวเตอร์ได้

องค์ประกอบสำคัญของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
เสนอสิ่งเร้าให้กับผู้เรียน ได้แก่ เนื้อหา ภาพนิ่ง คำถาม ภาพเคลื่อนไหว
ประเมินการตอบสนองของผู้เรียน ได้แก่ การตัดสินคำตอบ
ให้ข้อมูลย้อนกลับเพื่อการเสริมแรง ได้แก่ การให้รางวัล หรือ คะแนน
ให้ผู้เรียนเลือกสิ่งเร้าในลำดับต่อไป

รูปแบบต่างๆ ของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
เพื่อการสอน (Tutorial Instruction)วัตถุประสงค์เพื่อ การสอนเนื้อหาใหม่แก่ผู้เรียน มีการแบ่งเนื้อหาเป็นหน่วยย่อย มีคำถามในตอนท้าย ถ้าตอบถูกและผ่าน ก็จะเรียนหน่วยถัดไป โปรแกรมประเภท Tutorial นี้มีผู้สร้างเป็นจำนวนมาก เป็นการนำเสนอโปรแกรมแบบสาขา สามารถสร้างเพื่อสอนได้ทุกวิชา
ประเภทการฝึกหัด (Drill and Practive)วัตถุประสงค์คือ ฝึกความแม่นยำ หลังจากที่เรียนเนื้อหาจากในห้องเรียนมาแล้ว โปรแกรมจะไม่เสนอเนื้อหา แต่ใช้วิธีสุ่มคำถามที่นำมาจากคลังข้อสอบ มีการเสนอคำถามซ้ำแล้วซ้ำอีกเพื่อวัดความรู้จริง มิใช่การเดา จากนั้นก็จะประเมินผล
ประเภทสถานการณ์จำลอง (Simulation)เพื่อให้ผู้เรียนได้ทดลองปฏิบัติกับสถานการณ์จำลอง ที่มีความใกล้เคียงกับเหตุการณ์จริง เพื่อฝึกทักษะและเรียนรู้ โดยไม่ต้องเสี่ยงหรือเสียค่าใช้จ่ายมาก มักเป็นโปรแกรมสาธิต(Demostration) เพื่อให้ผู้เรียนทราบถึงทักษะที่จำเป็น
ประเภทเกมการสอน (Instruction Games)ประเภทนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ กระตุ้นความสนใจของผู้เรียน มีการแข่งขัน เราสามารถใช้เกมในการสอน และเป็นสื่อที่ให้ความรู้แก่ผู้เรียนได้ ในแง่ของกระบวนการ ทัศนคติ ตลอดจนทักษะต่างๆ ทั้งยังช่วยเพิ่มบรรยากาศในการเรียนรู้ให้มากขึ้นด้วย
ประเภทการค้นพบ (Discovery)เพื่อให้ผู้เรียน ได้มีโอกาสทดลองกระทำสิ่งต่างๆ ก่อน จนกระทั่งสามารถหาข้อสรุปได้ด้วยตนเอง โปรแกรมจะเสนอปัญหาให้ผู้เรียนได้ลองผิดลองถูก และให้ข้อมูลแก่ผู้เรียน เพื่อช่วยผู้เรียนในการค้นพบนั้น จนกว่าจะได้ข้อสรุปที่ดีที่สุด
ประเภทการแก้ปัญหา (Problem-Solving)เพื่อฝึกให้นักเรียนรู้จักการคิด การตัดสินใจ โดยจะมีเกณฑ์ ที่กำหนดให้แล้วผู้เรียนพิจารณาตามเกณฑ์นั้นๆ
ประเภทเพื่อการทดสอบ (Test)ประเภทนี้ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อการสอน แต่เพื่อใช้ประเมินการสอนของครู หรือการเรียนของนักเรียน คอมพิวเตอร์จะประเมินผลในทันที ว่านักเรียนสอบได้หรือสอบตก และจะอยู่ในลำดับที่เท่าไร ได้ผลการสอบกี่เปอร์เซ็นต์
ประวัติความเป็นมาของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
ปี ค.ศ. 1950 ศูนย์วิจัยของ IBM ได้พัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยงาน ด้านจิตวิทยา นับเป็นจุดเริ่มต้นของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
ปี ค.ศ. 1958 มหาวิทยาลัยฟลอริดา สหรัฐอเมริกา พัฒนา คอมพิวเตอร์ช่วยสอน ช่วยทบทวนวิชาฟิสิกส์ และสถิติ พร้อมๆ กับมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ได้นำคอมพิวเตอร์ช่วยสอน มาใช้ในวิชาคณิตศาสตร์ และภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษา
ปี ค.ศ. 1960 มหาวิทยาลัยอิลินอย จัดทำ คอมพิวเตอร์ช่วยสอน ด้านจิตวิทยาการศึกษา และวิศวกรรมศาสตร์ ภายใต้ชื่อ PLATA CAI - Programmed Learning for Automated Teaching Operations CAI
ปี ค.ศ. 1970 มีการนำคอมพิวเตอร์ช่วยสอน มาใช้ในทวีปยุโรป โดยฝรั่งเศษ และอังกฤษ เป็นผู้เริ่มต้น
ปี ค.ศ. 1671 มหาวิทยาลัย Taxas และ Brigcam Young ร่วมกันพัฒนา คอมพิวเตอร์ช่วยสอน กับมินิคอมพิวเตอร์ โดยผสมผสานคอมพิวเตอร์กับโทรทัศน์ ช่วยสอนวิชาภาษาอังกฤษ และคณิตศาสตร์ ภายใต้โครงการ TICCIT - Time-shared Interactive Computer Controlled Information Television
ปัจจุบัน คอมพิวเตอร์ช่วยสอน ได้เข้ามามีบทบาทมากขึ้น เพราะเทคโนโลยีมัลติมีเดีย

คอมพิวเตอร์ช่วยสอน ไม่ใช่ CAI
คำว่า "คอมพิวเตอร์ช่วยสอน" ไม่ใช่ CAI หรือ Computer Aided Instruction เพียงอย่างเดียว แต่ยังหมายถึง คำต่างๆ ต่อไปนี้ด้วย
CAI - Computer Aided Instruction หรือ Computer Assisted Instruction
CBT - Computer Based Training หรือ Computer Based Teaching
CBE - Computer Based Education
CAL - Computer Aided Learning หรือ Computer Assisted Learning
CMI - Computer Managed Instruction
โดยจะต้องมีลักษณะสำคัญ 4 ประการ ซึ่งเรียกย่อๆ ว่า 4-I คือ
Information ต้องมีเนื้อหาสาระสำคัญ
Individualized ต้องตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคล
Interactive ต้องมีการโต้ตอบระหว่างผู้ใช้กับบทเรียนได้
Immediate Feedback ต้องให้ผลย้อนกลับโดยทันที

การประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน
การนำคอมพิวเตอร์ช่วยสอน มาใช้งาน สามารถกระทำได้หลายลักษณะ ได้แก่
ใช้สอนแทนผู้สอน ทั้งในและนอกห้องเรียน ทั้งระบบสอนแทน, บททบทวน และสอนเสริม
ใช้เป็นสื่อการเรียนการสอนทางไกล ผ่านสื่อโทรคมนาคม เช่น ผ่านดาวเทียม เป็นต้น
ใช้สอนเนื้อหาที่ซับซ้อน ไม่สามารถแสดงข้องจริงได้ เช่น โครงสร้างของโมเลกุลของสาร
เป็นสื่อช่วยสอน วิชาที่อันตราย โดยการสร้างสถานการณ์จำลอง เช่น การสอนขับเครื่องบิน การควบคุมเครื่องจักรกลขนาดใหญ่
เป็นสื่อแสดงลำดับขั้น ของเหตุการณ์ที่ต้องการให้เห็นผลอย่างชัดเจน และช้า เช่น การทำงานของมอเตอร์รถยนต์ หรือหัวเทียน
เป็นสื่อฝึกอบรมพนักงานใหม่ โดยไม่ต้องเสียเวลาสอนซ้ำหลายๆ หน
สร้างมาตรฐานการสอน

ประโยชน์ของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน มีประโยชน์ต่อการเรียนการสอน ดังนี้
สร้างแรงจูงใจในการเรียนรู้
ดึงดูดความสนใจ โดยใช้เทคนิคการนำเสนอด้วยกราฟิก ภาพเคลื่อนไหว แสง สี เสียง สวยงามและเหมือนจริง
ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ และสามารถเข้าใจเนื้อหาได้เร็ว ด้วยวิธีที่ง่ายๆ
ผู้เรียนมีการโต้ตอบ ปฏิสัมพันธ์กับคอมพิวเตอร์ และบทเรียนฯ มีโอกาสเลือก ตัดสินใจ และได้รับการเสริมแรงจากการได้รับข้อมูลย้อนกลับทันที
ช่วยให้ผู้เรียนมีความคงทนในการเรียนรู้สูง เพราะมีโอกาสปฏิบัติกิจกรรมด้วยตนเอง ซึ่งจะเรียนรู้ได้จากขั้นตอนที่ง่ายไปหายากตามลำดับ
ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ตามความสนใจ และความสามารถของตนเอง บทเรียนมีความยืดหยุ่น สามารถเรียนซ้ำได้ตามที่ต้องการ
ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความรับผิดชอบต่อคนเอง ต้องควบคุมการเรียนด้วยตนเอง มีการแก้ปัญหา และฝึกคิดอย่างมีเหตุผล
สร้างความพึงพอใจแก่ผู้เรียน เกิดทัศนคติที่ดีต่อการเรียน
สามารถรับรู้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ได้อย่างรวดเร็ว เป็นการท้าทายผู้เรียน และเสริมแรงให้อยากเรียนต่อ
ให้ครูมีเวลามากขึ้นที่จะช่วยเหลือผู้เรียนในการเสริมความรู้ หรือช่วยผู้เรียนคนอื่นที่เรียนก่อน
ประหยัดเวลา และงบประมาณในการจัดการเรียนการสอน โดยลดความจำเป็นที่จะต้องใช้ครูที่มีประสบการณ์สูง หรือเครื่องมือราคาแพง เครื่องมืออันตราย
ลดช่องว่างการเรียนรู้ระหว่างโรงเรียนในเมือง และชนบท เพราะสามารถส่งบทเรียนฯ ไปยังโรงเรียนชนบทให้เรียนรู้ได้ด้วย

ข้อเสียของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
การนำคอมพิวเตอร์ช่วยสอน แม้จะมีประโยชน์มาก อย่างไรก็ย่อมมีข้อเสีย ได้แก่
การพัฒนาสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ต้องใช้ค่าใช้จ่ายสูงพอสมควร ทั้งในด้านฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์
ต้องอาศัยความคิดจากผู้ชำนาญการ หรือผู้เชี่ยวชาญ จำนวนมากในการระดมความคิด
ใช้เวลาในการพัฒนานาน
การออกแบบสื่อ กระทำได้ยาก และซับซ้อน

ลักษณะของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ควรมีลักษณะการนำเสนอเป็นตอน ตอนสั้นๆ ที่เรียกว่า เฟรม หรือ กรอบ เรียงลำดับไปเรื่อยๆ เพื่อให้ผู้เรียนสามารถศึกษาได้ด้วยตนเอง (Self Learning) และควรจัดทำปุ่มควบคุม หรือรายการควบคุมการทำงาน เพื่อให้ผู้เรียนสามารถโต้ตอบกับคอมพิวเตอร์ได้ เช่น มีส่วนที่เป็นบททบทวน หรือแบบฝึกปฏิบัติ แบบทดสอบ หลังจากที่มีการนำเสนอไปแต่ละตอน หรือแต่ละช่วง ควรตั้งคำถาม เพื่อเป็นการทบทวน หรือเพื่อตรวจสอบความเข้าใจ ในเนื้อหาใหม่ที่นำเสนอแก่ผู้เรียน สำหรับการตอบสนองต่อการตอบคำถาม ควรใช้เสียง หรือคำบรรยาย หรือภาพกราฟิก เพื่อสร้างแรงจูงใจ ความมั่นใจในการเรียนรู้ โดยเฉพาะเนื้อหาสำหรับเด็กเล็ก นอกจากนี้ควรมีส่วนที่เสริมความเข้าใจ ในกรณีที่ผู้เรียนตอบคำถามผิด ไม่ควรข้ามเนื้อหา โดยไม่ชี้แนะแนวทางที่ถูกต้อง เกี่ยวกับเรื่องเวลาในการเรียน ควรให้อิสระต่อผู้เรียน ไม่ควรจำกัดเวลา เพื่อเปิดโอกาสให้เรียนตามความต้องการของผู้เรียนเอง เนื้อหาบทเรียนควรมีทางเลือกหลากหลาย เช่น ถ้าผู้เรียนรับรู้ได้เร็ว ก็สามารถข้ามเนื้อหาบางช่วงได้ เป็นต้น

บุคลากรในการจัดทำสื่อฯ
การจัดทำบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน จะต้องเกี่ยวข้องกับบุคลากรหลายด้าน หลายฝ่าย ที่ทำงานประสานร่วมมือกัน เพื่อให้ได้ผลที่ถูกต้อง และเหมาะสมกับการเรียนรู้ผ่านสื่อคอมพิวเตอร์ มีความยืดหยุ่น เหมาะสมกับสภาพผู้เรียนที่แตกต่างกันออกไป ดังนั้นบุคลากรในงานนี้ ได้แก่

กลุ่มผู้เชี่ยวชาญ
เป็นกลุ่มบุคคลที่มีความเชี่ยวชาญในสาขาวิชาต่างๆ รวมถึงการใช้สื่อเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับสภาพผู้เรียน ทำหน้าที่ให้คำปรึกษาด้านต่างๆ ได้แก่
1. ผู้เชี่ยวชาญด้านหลักสูตรและเนื้อหาเป็นผู้ที่มีความรู้ด้านเนื้อหา หลักสูตร กำหนดเป้าหมาย และทิศทางของหลักสูตร
2. ผู้เชี่ยวชาญด้านการสอนเป็นผู้ที่มีประสบการณ์ทางการสอนในรายวิชานั้นๆ สามารถจัดลำดับความสัมพันธ์ และความต่อเนื่องของเนื้อหา รู้เทคนิคการนำเสนอ การสร้างบทเรียน การวัดผล
3. ผู้เชี่ยวชาญด้านสื่อทำหน้าที่ให้คำปรึกษา การออกแบบบทเรียน จัดรูปแบบการแสดงผล การเลือกใช้กราฟิก หรือสื่อต่างๆ ที่จะช่วยดึงดูดความสนใจของผู้เรียน
4. ผู้เชี่ยวชาญด้านโปรแกรมคอมพิวเตอร์ให้คำแนะนำการใช้โปรแกรม Authoring tools ที่เหมาะสมกับเนื้อหาที่จะนำเสนอ ตลอดจนการทำเอกสารประกอบการใช้สื่อ

กลุ่มผู้ออกแบบและสร้างบทเรียน
เป็นผู้ทำหน้าที่ออกแบบและสร้างบทเรียนโดยตรง โดยเริ่มตั้งแต่การวิเคราะห์เนื้อหา การวิเคราะห์กิจกรรม การทำสื่อประเมินผล การสร้าง Storyboard ของเนื้อหา โดยอยู่ภายใต้ความควบคุม ดูแลของ ผู้เชี่ยวชาญ จากนั้นก็นำมาลงโปรแกรมคอมพิวเตอร์

ผู้บริหารโครงการ
ทำหน้าที่จัดการ และบริหารงานต่างๆ ที่เกี่ยวกับการสร้างบทเรียน จัดหาอุปกรณ์ต่างๆ ที่จำเป็นต้องใช้ ควบคุมคุณภาพของบทเรียน ประสานงานกับกลุ่มต่างๆ ควบคุมงบประมาณต่างๆ

ส่วนประกอบในการจัดทำสื่อฯ
การจัดทำบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน จะต้องมีการวางแผน โดยคำนึงถึงส่วนประกอบในการจัดทำ ดังนี้
? บทนำเรื่อง (Title)เป็นส่วนแรกของบทเรียน ช่วยกระตุ้น เร้าความสนใจ ให้ผู้เรียนอยากติดต่อเนื้อหาต่อไป
? คำชี้แจงบทเรียน (Instruction)ส่วนนี้จะอธิบายเกี่ยวกับการใช้บทเรียน การทำงานของบทเรียน เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้เรียน
? วัตถุประสงค์บทเรียน (Objective)แนะนำ อธิบายความคาดหวังของบทเรียน
? รายการเมนูหลัก (Main Menu)แสดงหัวเรื่องย่อยของบทเรียนที่จะให้ผู้เรียนศึกษา
? แบบทดสอบก่อนเรียน (Pre Test)ส่วนประเมินความรู้ขั้นต้นของผู้เรียน เพื่อดูว่าผู้เรียนมีความรู้พื้นฐานในระดับใด
? เนื้อหาบทเรียน (Information)ส่วนสำคัญที่สุดของบทเรียน โดยนำเสนอเนื้อหาที่จะนำเสนอ
? แบบทดสอบท้ายบทเรียน (Post Test)ส่วนนี้จะนำเสนอเพื่อตรวจผลวัดสัมฤทธิ์การเรียนรู้ของผู้เรียน
? บทสรุป และการนำไปใช้งาน (Summary - Application)ส่วนนี้จะสรุปประเด็นต่างๆ ที่จำเป็น และยกตัวอย่างการนำไปใช้งาน

การออกแบบหน้าจอของบทเรียน
เนื่องจากการจัดทำบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เป็นการนำเสนอผ่านคอมพิวเตอร์ ดังนั้นการออกแบบหน้าจอ จึงเป็นประเด็นสำคัญด้วย เพื่อดึงดูดความสนใจ และช่วยให้จัดรูปแบบการนำเสนอที่สมดุลกันขององค์ประกอบต่างๆ บนจอภาพ เพราะถ้าเนื้อหาถึงจะดีเพียงใดก็ตาม หากหน้าจอไม่ดี หรือไม่ดึงดูด ก็ส่งผลต่อการใช้โปรแกรมได้ คุณค่าของสื่อก็จะลดลงด้วย โดยองค์ประกอบเกี่ยวกับการออกแบบหน้าจอ ได้แก่

ความละเอียดของจอภาพ
ปัจจุบันความละเอียดของจอภาพที่นิยมใช้ จะมีสองค่า คือ 640x480 pixel และ 800x600 pixel ดังนั้นควรพิจารณาถึงความละเอียดที่จะดีที่สุด เพราะหากออกแบบหน้าจอ สำหรับจอภาพ 800x600 pixel แต่นำมาใช้กับจอภาพ 640x480 pixel จะทำให้เนื้อหาตกขอบจอได้ แต่ถ้าหากจัดทำด้วยค่า 640x480 pixel หากนำเสนอผ่านจอ 800x600 pixel จะปรากฎพื้นที่ว่างรอบเฟรมเนื้อหาที่นำเสนอ

การใช้สี
เพื่อให้ผู้เรียนสามารถนั่งดู และศึกษาบทเรียนได้ดี ควรใช้สีในโทนเย็น หรืออาจจะพิจารณาองค์ประกอบร่วมกัน คือ สีของพื้น (Background) ควรเป็นสีขาว, สีเทาอ่อน ในขณะที่สีข้อความ ควรเป็นสีในโทนเย็น เช่น สีน้ำเงินเข้ม, สีเขียวเข้ม หรือสีที่ตัดกับสีพื้น จะมีการใช้สีโทนร้อน กับข้อความที่ต้องการเน้นเป็นพิเศษเท่านั้น และไม่ควรใช้สีเกิน 4 สีกับเนื้อหาข้อความ ไม่ควรสลับสีไปมาในแต่ละเฟรม

รูปแบบของการจัดหน้าจอ
รูปแบบของการจัดหน้าจอ ที่สมดุลกันระหว่างเมนู, รายการเลือก, เนื้อหา, ภาพประกอบ จะช่วยให้ผู้ใช้สนใจเนื้อหาได้มาก โดยมากมักจะแบ่งจอภาพเป็นส่วนๆ ได้แก่ ส่วนแสดงหัวเรื่อง, ส่วนแสดงเนื้อหา, ส่วนแสดงภาพประกอบ, ส่วนควบคุมบทเรียน, ส่วนตรวจสอบเนื้อหา, ส่วนประกอบอื่นๆ เช่น นาฬิกาแสดงเวลา, หมายเลขเฟรมลำดับเนื้อหา, คะแนน เป็นต้น

การนำเสนอเนื้อหาที่เป็นข้อความ
ซึ่งแรกที่ควรคำนึงถึงคือ ฟอนต์ที่นำมาใช้งาน ควรเป็นฟอนต์มาตรฐาน มีรูปแบบที่ชัดเจน มีการกำหนดขนาดที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย นำเสนอด้วยข้อความนำแบบสั้นๆ เพื่อดึงเข้าเนื้อหาจริง หลีกเลี่ยงการนำเสนอแบบจัดกึ่งกลาง ควรนำเสนอภาพพอประมาณ ไม่มาก หรือน้อยเกินไป จุดเน้นให้ใช้การตีกรอบสี หรือเน้นด้วยสีตัวอักษรด้วยสีโทนร้อน
รูปแบบการนำเสนอ และควบคุมบทเรียน
รูปแบบการนำเสนอ อาจจะใช้แบบรายการเลือก หรือแบบเรียงลำดับเนื้อหา หรืออาจจะใช้การคลิกไปยังส่วนประกอบต่างๆ ของภาพที่นำเสนอก็ได้ ขึ้นอยู่กับเนื้อหาที่นำเสนอนั้นๆ

ที่มา : NECTEC’s Web Based Learning

การเรียนการสอนผ่าน web

การเรียนการสอนผ่านเว็บ



การเรียนการสอนผ่านเว็บ มีลักษณะโดดเด่น คือ ผู้เรียนสามารถเรียนเวลาใดก็ได้ สถานที่ใดก็ได้ ที่มีความพร้อมด้านการเชื่อมต่อระบบ สามารถใช้เครื่องมือต่างๆ เช่น E-Mail, Chat, Webboard, Newsgroup สื่อสารกับเพื่อนๆ ผู้สอน หรือบุคคลอื่นๆ ที่สนใจและผู้เชี่ยวชาญต่างๆ แต่ผู้เรียนไม่ต้องเข้าชั้นเรียน เข้าโรงเรียน เพราะถือว่าเว็บไซต์เป็นเสมือนห้องเรียน หรือโรงเรียน หนังสือเนื้อหาการเรียนถูกแทนที่ด้วยเนื้อหาดิจิตอตลักษณะต่างๆ ทั้งข้อความ, ภาพนิ่ง, ภาพเคลื่อนไหว, เสียง และวีดิทัศน์ ตามแต่ลักษณะของเว็บไซต์ สำคัญที่สุดคือผู้เรียนที่ไม่กล้าแสดงออกในห้องเรียนปกติ จะกล้าแสดงออก และแสดงความคิดเห็นได้มากกว่าเดิม


ทั้งนี้มีผู้วิจัยเกี่ยวกับทฤษฏีการเรียนรู้และรูปแบบการเรียนการสอน ที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนผ่านเว็บ ไว้ดังนี้


การเรียนรู้โดยการค้นแบบ - การเรียนการสอนผ่านเว็บ นับได้ว่าเป็นกระบวนการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับแนวคิดพื้นฐานของทฤษฏีการค้นพบของ Brooner เนื่องจากผู้เรียนจะต้องศึกษาและค้นคว้าด้วยตนเอง จะต้องสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้สอน ผู้เรียนร่วม ผู้สนใจ และบุคคลอื่นๆ ในระบบได้ทั้วโลก


ทฤษฏีการเรียนรู้ด้วยการนำตนเอง - การเรียนการสอนผ่านเว็บ ผู้เรียนจะต้องรับผิดชอบตนเอง นำตัวเอง ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง


ทฤษฏีการสอนรายบุคคล - เนื่องจากผู้เรียนจะต้องศึกษาเรียนรู้ด้วยตนเอง มีอิสระเลือกเนื้อหา เวลา และกิจกรรม ซึ่งเป็นรูปแบบของผู้เรียนเฉพาะราย


ทฤษฏีการสอนแบบร่วมมือ (Collaborative Learning) - เน้นว่าผู้เรียนมีอิสระในการเรียน แต่ด้วยเครื่องมือสื่อสารต่างๆ เช่น e-Mail, Webboard, Chat, Newsgroup ทำให้ผู้เรียนกับผู้สอน เพื่อนร่วมเรียน ผู้เชี่ยวชาญต่างๆ มีส่วนร่วมกันและกันในการเรียนได้ เช่น ช่วยในการตั้งคำถาม ชี้แนะแนวทางการหาคำตอบเป็นต้น


รูปแบบการสอนของกาเย (Gagne) - การเรียนการสอนผ่านเว็บ นับได้ว่ามีรูปแบบที่สอดคล้องกับรูปแบบการสอนของกาเย ได้แก่


- สร้างแรงจูงใจให้ผู้เรียนเกิดความสนใจในบทเรียน
- แจ้งจุดประสงค์ บอกให้ผู้เรียนทราบถึงผลการเรียน เห็นประโยชน์ในการเรียน ให้แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียน
- กระตุ้นให้ผู้เรียนทบทวนความรู้เดิมที่จำเป็นต่อการเชื่อมโยงไปหาความรู้ใหม่
- เสนอบทเรียนใหม่ๆ ด้วยสื่อต่างๆ ที่เหมาะสม
- ให้แนวทางการเรียนรู้ ผู้เรียนสามารถทำกิจกรรมด้วยตนเอง ผู้สอนแนะนำวิธีการทำกิจกรรม แนะนำแหล่งค้นคว้าต่างๆ
- กระตุ้นให้ผู้เรียนลงมือทำแบบฝึกปฏิบัติ
- ให้ข้อมูลย้อนกลับ ผู้เรียนทราบถึงผลการปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ

- การประเมินผลการเรียนตามจุดประสงค์
- ส่งเสริมความแม่นยำ การถ่ายโอนการเรียนรู้ โดยการสรุป การย้ำ การทบทวน


ดังนั้นรูปแบบการเรียนการสอนผ่านเว็บ จึงมีความยึดหยุ่นสูง ผู้เรียนจะต้องมีความรับผิดชอบ มีความกระตือรือร้นในการเรียนมากกว่าปกติ มีความตั้งใจใฝ่หาความรู้ใหม่ๆ ตรงกับระบบการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง โดยมีผู้สอนเป็นเพียงผู้แนะนำ ที่ปรึกษา และแนะนำแหล่งความรู้ใหม่ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเรียน
ผู้เรียนสามารถทราบผลย้อนกลับของการเรียน รู้ความก้าวหน้าได้จาก E-Mail การประเมินผลควรแบ่งเป็น การประเมินย่อย โดยใช้เว็บไซต์เป็นที่สอบ และการประเมินผลรวม ที่ใช้การสอบแบบปกติในห้องเรียน เพื่อเป็นการยืนยันว่าผู้เรียนเรียนจริงและทำข้อสอบจริงได้หรือไม่ อย่างไร
*-* WeLCoMe To SuThAsInEe *-*

<:>๐<:>๐<:>Clip_Me_NoW<:>๐<:>๐<:>